ช่วยเราเติมเต็มข้อมูล
จำนวนการเปิดอ่าน 21,816
ให้คะแนนสำหรับเนื้อหานี้

The Star Tone Control
โดย Mr.K

      ถ้าพูดถึงเรื่องระบบ Ground ในเครื่องเสียงแล้วหลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมต้องมีเทคนิคอะไรพิศดาลชวนปวดหัวด้วย ถ้ามองจากวงจรมันน่าจะเป็นเรื่องง่ายๆ แต่ปัญหาที่เหล่านัก DIY พบเสียงจี่-เสียงฮัม หรือแม้กระทั่งการออสซิลเลทที่แก้ไม่ตก ชื่อว่าส่วนใหญ่มาจากเรื่องระบบกราวด์ เทคนิคการกราวด์สำคัญถึงขนาดที่ว่าต่อให้รูปวงจรเดียวกันอุปกรณ์เหมือนกัน แต่ผู้ออกแบบ PCB หรือนัก DIY มีความเข้าใจระบบกราวด์ต่างกันสามารถสร้างผลลัพธ์ของคุณภาพเสียงออกมาแตกต่างกันได้ ถ้าระบบกราวด์จัดว่าแย่อาจถึงขั้นทำให้วงจรไม่สามารถทำงานไม่ได้ตามต้องการกันเลยทีเดียว

      โครงงาน The Star Tone เลือกใช้เทคนิค Star Ground วัตถุประสงค์หลักเพื่อให้วงจรเกิด CMRR = Common Mode Rejection Ratio สูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะเชื่อว่าเสียงที่ดีเกิดจากความสงัด-เงียบของวงจร หรือที่เราเห็นกันในสเปค S/N ที่สูงนั่นคือสัดส่วนสัญญาณเสียงกับสัญญาณรบกวนที่ห่างกันยิ่งมากยิ่งดี  การออกแบบ PCB ทั่วไปเมื่อเราเห็นสัญลักษณ์กราวด์ในวงจรส่วนใหญ่เราก็จะลากให้ถึงกันหมดโดยแทบไม่พิจารณาให้ดี ตรงไหนมันใกล้ก็ลากเอาตรงนั้นเลย แต่ถ้าวิเคราะห์ให้ลึกแล้ว กราวด์บางจุดมันมีหน้าที่เป็นทางผ่านสัญญาณรบกวน หรือมีกระแสไหลปริมาณมากควรจะมีเส้นทาง Return ของมันแยกต่างหากไม่ควรเอามารวมกับ Signal Return ที่อ่อนไหวต่อสัญญาณรบกวน พูดง่ายๆถ้าเปรียบเสมือนผู้ออกแบบ PCB เป็นนายกเทศมนตรีมีหน้าที่วางผังเมือง สร้างถนนให้รถสัญจรแทนที่จะใช้ถนนใหญ่เพียงเส้นเดียวกับรถทุกประเภท เราได้แยกถนนสำหรับรถแต่ละประเภท ออกเป็นหลายประเภทเท่าที่จะทำได้ รถสิบล้อบรรทุกหนักก็มีถนนเป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะรถยนต์-รถจักรยานก็มีเส้นทางของตัวเอง แม้ถนนจักรยานอาจจะแคบแต่ก็เหมาะสมกับขนาดของรถ ทำให้ลดอุบัติเหตุ การสัญจรไม่ติดขัด ในทางไฟฟ้าก็คือลดการก่อกวนของกระแสปริมาณมากกับกลุ่มกระแสหรือสัญญาณขนาดเล็กเป็นวิธีลดการเกิดสัญญาณรบกวนนั่นเอง

       
                                                               รูปที่1 The Star Tone Control

     โครงงานนี้เกิดขึ้นมาจากการศึกษาสืบค้นวงจรและซิมมูเลชั่นมาหลายวงจรจนค้นพบวงจรที่เข้าตา ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าโทนคอนโทรลตัวนี้มีคอนเซ็ปต์ของมันคือ เป็นโทนคอนโทรลที่ไม่มีสวิตซ์ Loundness ถึงมีลาวด์เนสแล้วให้เสียงเบสออกมาใหญ่บึ้มสะใจ แต่ก็เป็นเหมือนดาบสองคม เพราะวงจรลาวด์เนสทั่วๆไปจะทำให้สัญญาณเสียงมีความผิดเพี้ยนไปค่อนข้างมาก ทั้งเรื่องเฟสและการตอบสนองที่ผิดธรรมชาติ โทนตัวนี้อาจไม่เหมาะสำหรับท่านที่ติดสวิตซ์ลาวด์เนส คอนเซ็ปต์ต่อมาคือเป็นโทนที่มีสวิตซ์ Defeat เพื่อฟังเสียงที่ผ่านไลน์แอมป์แบบ Flat ไร้การแต่งแต้มปราศจากการบูส-คัทของภาคโทนคอนโทรล จริงๆแล้วเชื่อว่านักฟังส่วนใหญ่น่าจะชอบฟังเสียงสดๆผ่านไลน์แอมป์มากกว่าโทนคอนโทรลเสียอีก แต่ก็มีบางครั้งนึกสนุกมีอารมณ์อยากเพิ่มเบสนิดแหลมหน่อยเป็นบางเวลาเท่านั้นเอง โทนคอนโทรลตัวนี้ก็ไม่ได้บูส-คัท ได้มากแบบสะใจวัยรุ่น ทำได้สูงสุดแค่ +/-10dB เท่านั้น และส่วนที่ขาดไม่ได้คือโทนตัวนี้ออกแบบมาสำหรับนัก DIY มือซนชอบปรับนั่นเปลี่ยนนี่ แม้แต่แรงดันไฟเลี้ยงก็ยังต้องออกแบบมาให้ปรับค่าเล่นได้ อุปกรณ์บางจุดที่สำคัญๆก็เผื่อไว้สำหรับอะไหล่เกรดแพงๆมาเปลี่ยนเล่นได้ เป็นอันว่าน่าจะตอบโจทย์ผู้ที่หาโทนคอนโทรล-ไลน์แอมป์สไตล์นี้ได้เป็นอย่างดี

คุณสมบัติของ The Star Tone Control
- Frequency Respond       10Hz – 100kHz
- Line Amplifier Gain          15dB
- Bass Boost/Cut               +/-10dB  @ 50Hz  (+/-2dB)
- Treble Boost/Cut             +/-10dB @ 10kHz (+/-2dB)
- Preamp Power Supply       24-0-24  300mA หรือมากกว่า
-Relay Power Supply            24-0        50mA หรือมากกว่า
-Size PCB                              165 x 280 mm

 

                                               รูปที่2 วงจรของ The Star Tone Control

 

                               รูปที่3 แหล่งจ่ายไฟของ The Star Tone Control

   การสร้าง
   
เริ่มจาก PCB ของ The Star Tone Control มีขนาด กว้าง 11 นิ้ว ยาว 6.475 นิ้วดังรูปที่4 โครงงานนี้สร้างง่าย เพราะเราได้รวมโครงสร้างของระบบทั้งหมดไว้ใน PCB แผ่นเดียวขอแค่มีทักษะการบัดกรีหน่อย และลงอุปกรณ์ได้ถูกต้องรับรองท่านจะได้ฟังเสียงจากโทนตัวนี้แน่นอน  สำหรับท่านที่ไม่สะดวกทำ PCB ด้วยตนเอง สามารถสั่งซื้อ ชุด Kit โครงงานได้ หรือถ้าไม่สะดวกประกอบด้วยตนเองเราก็มี ชุดลง PCB ไว้บริการเช่นกัน                             

  
                                                              รูปที่4 ลาย PCB ด้านลงอุปกรณ์


                                                                       รูปที่5 ลาย PCB ด้านล่าง

 

   แนวทางการต่อใช้งาน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                         รูปที่6 แนวทางการเดินสายไฟภายในแท่น

                                                       รูปที่7 ตัวอย่างแท่นที่ประกอบสำเร็จ

  ผลการรับฟัง
  
เริ่มจากผลการฟังในโหมด TONE ก่อน สิ่งที่โทนตัวนี้มีความโดดเด่นคือให้เสียงกลางที่ยังคงโฟกัสได้ดีแม้เราจะบูส BASS-TREBLE ขึ้นมาแต่เสียงร้องยังคงมีเนื้อหนังที่ดีอยู่ ถ้าท่านเคยเจอปัญหาโทนที่ให้เสียงกลางบาง-ขาดโฟกัส หรือเสียงกลางที่ไม่มีคุณภาพจะฟังออกทันที เสียงกลางที่ให้ความไพรเราะนั้นอาจหาได้ยากจากโทนทั่วๆไปแต่ The Star Tone สามารถสร้างเสียงกลางที่ไพรเราะ เสียงร้องและเครื่องดนตรีหลักที่เป็นหัวใจหลักของเพลงส่วนใหญ่อยู่ในย่านเสียงกลางรายละเอียดจะถูกเปิดเผยออกมาได้อย่างชัดเจน การบูส BASS ถึงแม้จะทำได้แค่ +/-10dB แต่วงจรเลือกความถี่ที่ตรงจุดในการบูส ทำให้รู้สึกว่าบูสนิดเดียวแต่ได้เสียงเบสออกมาใหญ่โตเหลือเพือ และที่สำคัญยังคงคุณภาพเสียงโดยรวมได้ดี ย่านแหลมก็เช่นกันการบูสจะเน้นไปที่การเติมรายละเอียดมากกว่าการสร้างเสียงที่แผดหู  ในโหมด DEFEAT คือโหมดที่ยกเลิกการใช้ TONE นักฟังหูทองจะชอบฟังแบบนี้เป็นพิเศษ เป็นโหมดที่แสดงบุคลิกเสียงของวงจรโทนตัวนี้ออกมาได้ชัดเจนที่สุด และทำให้ได้ความสงัดขึ้นมาอีกจากเดิมที่ว่าสงัดอยู่แล้ว ทำให้เสียงโดยรวมฟังชัดมีรายละเอียดขึ้นอีก ตรงนี้เป็นผลจากที่เราเลือกที่จะลดการเดินสายไฟยาวๆในส่วนของวงจรป้อนกลับทางลบ ซึ่งเป็นส่วนที่ถูกรบกวนได้ง่ายอยู่แล้ว แล้วเลือกรีเลย์มาทำหน้าที่แทน เป็นแนวทางคร่าวๆสำหรับผู้ที่สนใจจะสร้างโครงงานนี้

โทนคอนโทรลตัวนี้ออกแบบให้มีความหลากหลายในการปรับแต่ง เพื่อให้ท่านเค้นหาน้ำเสียงที่ถูกใจโดยการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บางตัวได้ไม่ยาก ถ้าท่านมองเห็นว่าพื้นฐานโครงสร้างของวงจร-การออกแบบ PCB ดีอยู่แล้วจึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับนัก DIY ที่จะละเลงเล่นกับมันได้โดยไม่ต้องลังเล

  รายการอุปกรณ์

 กดเพื่อบริจาก 1USD สำหรับการดาวน์โหลดไฟล์ PCB

           

 

2 ความคิดเห็น

PREVIEW
Shabu — 1 พฤศจิกายน 2565 , 22:12 (2 ปี ที่ผ่านมา)
Hi.. Please suggest some replacement transistors for c2316/a916. I am stuck due to this.

Thanks for the wonderful project
0 0
Muthukrishnan — 13 สิงหาคม 2562 , 10:21 (5 ปี ที่ผ่านมา)
Hi,Mr.K..i am hobbyist ,recently I tried your dual Mono Tone control it's really awesome..but I stuck with the components values actually the image was not clear is it possible to share me the schematic..thank you
0 0
-
จ่ายเงิน

ตะกร้าสินค้า

ดูตะกร้าสินค้าของฉัน
คลิ้กที่นี่ถ้าลืมรหัสผ่าน
0.014153