วงจรป้องกันลำโพงระบบ Crowbar Speaker Protection ทำหน้าที่ป้องกันลำโพงของท่านได้อย่างยอดเยี่ยม เราจะเห็นว่าเพาเวอร์แอมป์กำลังสูงๆในต่างประเทศนิยมใช้วงจรป้องกันลำโพงแบบนี้
การทำงานของระบบ Crowbar Protection คือเมื่อใดก็ตามที่เพาเวอร์แอมป์มีปัญหาหรือเสียหาย มี DC ออกไปหาลำโพง
ไตรแอกขนาดใหญ่จะลัดวงจรที่ขั้วลำโพง เพื่อให้ฟิวส์ลำโพง หรือฟิวส์ของเพาเวอร์แอมป์ ระบบป้องกันของภาคจ่ายไฟหยุดการทำงานในทันที
ระบบนี้นิยมใช้ในเพาเวอร์แอมป์วัตต์สูงๆเพราะมีความเหนือกชั้นว่าการใช้รีเลย์ที่มีข้อจำกัดเรื่องหน้าสัมผัสที่ทนกระแสสูงๆไม่ได้ดีนัก
ข้อแตกต่างระหว่าง Relay Protection กับ Crowbar Protection แม้เราจะเห็นวงจรป้องกันลำโพงแบบ Crowbar Protection ในเพาเวอร์แอมป์วัตต์สูงระดับโลกมาแล้วแต่มันก็มีข้อควรระวังในการใช้งานสำหรับนัก DIY ที่ควรทราบ
-วงจรป้องกันลำโพงแบบ Crowbar Protection จะไม่สามารถหน่วงเวลาเพื่อป้องกันเสียง Pop Noise หรือเสียง ตุ๊ปขณะเปิด-ปิดเครื่องได้ เพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ป้องกันลำโพงชนิดนี้จะต้องมีระบบ Mute ที่ช่วยป้องกันเสียงตุ๊ปขณะเปิด-ปิดเครื่องด้วยเพื่อความสมบูรณ์แบบ
-เหมาะสำหรับแหล่งจ่ายไฟของเพาเวอร์แอมป์ที่มีระบบป้องกันการลัดวงจร หรืออย่างน้อยต้องมีฟิวส์ เพราะเมื่อมีไฟฟ้ากระแสตรงไหลผ่านลำโพง Crowbar Protection จะลัดวงจรให้กระแสไฟฟ้าปริมาณมากไหลผ่านไตรแอกแทน จนทำให้ฟิวส์ขาดหรือระบบป้องกันของเพาเวอร์ซัพพลายให้ยุดการทำงาน
-เหมาะสำหรับเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้แหล่งจ่ายไฟ +/-40Vdc ขึ้นไป เนื่องจากใช้ไดแอกที่มี Breakdown Voltage 28-36V ในการควบคุมไตรแอก ต้องแน่ใจว่ามีแรงดัน DC ออกไปที่ลำโพงสูงกว่าขณะที่เพาเวอร์แอมป์เกิดความเสียหาย วงจรป้องกันจึงจะช่วยเหลือลำโพงของท่านได้
-มีโอกาสที่ไตรแอคจะระเบิดหรือได้รับความเสียหายหากมันทำหน้าที่ป้องกันลำโพงถ้ากระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวมันเกินพิกันกระแสเกิน 250A ภายใน 20mS หากฟิวส์หรือระบบป้องกันของแหล่งจ่ายไฟไม่ตัดการทำงานได้ทันเวลา